มีค่าใช้จ่าย

อบรม สิทธิประโยชน์ด้านเขตปลอดอากร (Free Zone) และ เขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone)

อบรมวันที่ 06 พฤศจิกายน 2567
จำนวนคนดู 221 ครั้ง
อบรม สิทธิประโยชน์ด้านเขตปลอดอากร (Free Zone) และ เขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone)
ขอเชิญอบรม หลักสูตร สิทธิประโยชน์ด้านเขตปลอดอากร (Free Zone) และ เขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone)
- รอบที่ 1 วันที่ 04 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00
- รอบที่ 2 วันที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00
- รอบที่ 3 วันที่ 06 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00
สอนโดยดร.ฉัตรพล มณีกูล
ราคา 3900 บาท / ท่าน
เข้าร่วมเรียน ณ:

เนื้อหาหลักสูตร

หลักการและเหตุผล

     ผู้ปฏิบัติงานในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการค้าเสรีจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติและข้อบังคับตามกฎหมายศุลกากร การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนำของเข้ามาหรือส่งของออกจากเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรีในกรณีต่าง ๆ การเก็บขอรวมถึงการชำระภาษีอากรหรือการยกเว้นอากรในกรณีที่ต้องการนำสินค้าในเขตดังกล่าวเพื่อจำหน่ายหรือบริโภคภายในประเทศ

     เนื่องจากความรู้ดังกล่าวข้างต้นมีความสำคัญสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการวางแผน ควบคุม และ      การปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบพิธีการศุลกากรและชำระภาษีศุลกากรได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนมีความสามารถในการสื่อสาร การประสานงาน และการทำงานร่วมกับทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก


วัตถุประสงค์

   1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่เกี่ยวข้อง

   2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถมีแนวปฏิบัติงานภายในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี

   3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน

   4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสื่อสาร ประสานงาน และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในหรือภายนอกเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


หัวข้อการสัมมนา

   1. หลักเกณฑ์และข้อบังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี

   2. สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของเขตปลอดอากรและเขตประกอบการสรี

   3. พิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนำของเข้ามาและการส่งของออกจากเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรีในกรณีต่าง ๆ การเก็บรักษาของ การจัดทำรายงานประจำงวดตามที่กรมศุลกากรกำหนด  

   4. การชำระภาษีอากรและการขอยกเว้นอากรสำหรับของในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี ในกรณีจำหน่ายหรือบริโภคภายในประเทศ

รูปแบบการการอบรม (Methodology)

   1. Onsite หรือ Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม

   2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
 


สำรองที่นั่งได้ที่ 0944896364 หรือไลน์ไอดี @seminardd
หลักสูตรนี้สามารถจัดเป็น INHOUSE สำหรับองค์กรได้นะคะ




คำค้นประกาศนี้ Tags: สิทธิประโยชน์ด้านเขตปลอดอากร (Free Zone), เขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone)

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ Soft Skills และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ
ค้นหาคำตอบของมุมมองสถานประกอบการในยุค 4.0 และตลาดนัดแรงงานรับสมัครงานกว่า 40 บริษัท พร้อมกิจกรรมมากมายในงานโลจิสติกส์แฟร์ ครั้งที่ 5
เพื่อเป็นการให้ผู้เริ่มต้นก้าวสู่การเป็น “นักวางแผนการตลาดและธุรกิจคือดิจิตอล เข้าใจถึงเครื่องมือและบริหารจัดการเกี่ยวการนำเครื่องมือทางด้าน Big Data และ เครื่องมือการตลาดออนไลน...
ลูกค้า คือ จุดหมายสำคัญของการทำธุรกิจ การขายส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อลูกค้า เกิดความรู้สึกที่พึงพอใจกับตัวของนักขายที่รู้ใจและให้บริการคำปรึกษาที่ดี อีกทั้งเรื่องเล...
การขายในยุคนี้เน้นความต่างมาเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันนักขายมีความคล้ายเหมือนกันมากจนเกินไป กล่าวคือ พนักงานขายไม่ได้แสดงบทบาททางการขายที่สมบูรณ์ จึงมีให้เห็นบ่อยว่า พนักงานขาย...
ปัจจุบันองค์กรต่างๆได้รับแรงกดดันจากภายนอก ทำให้จำเป็นต้องทำหาวิธีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน การใช้เครื่องมือบริหารคุณภาพ 14 QC Tools ซึ่งเป็นกลุ่มเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากใ...
เพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน GHPs/HACCP V.5 และยกระดับมาตรฐาน ซึ่งเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาใช้เป็นแนวทางการกำหนดระบบการควบคุมการทำงานในวงการผลิตอาหาร โดยกา...
หลักสูตรนี้จะช่วยให้ท่านได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด เพื่อให้องค์กรของท่านเป็นที่ยอมรับจากลูกค้...
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจแนวคิด หลักการควบคุมคุณภาพและกระบวนการเชิงสถิติ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือทางสถิติ เพื่อการทำงานด้านการควบคุมกระบวนการได้